17 กุมภาพันธ์ 2556
“การมองเห็นและยอมรับคนอื่น นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง” - Hegel
ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ถือเป็นแกนกลางหนึ่งของการศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต คือระบบความสัมพันธ์ วัฒนธรรมจึงเป็น “รูปธรรม”ของอัตลักษณ์หรือตัวตนของสังคมนั้น ๆ ด้วย หากแนวคิดเรื่องสังคมแบบพหุคือการยอมรับความแตกต่างหลากหลายของผู้คนในสังคม นั่นก็หมายความถึงการยอมรับในอัตลักษณ์ของปัจเจก ของชุมชนหรือของสังคมนั้น ๆ เช่นกัน อัตลักษณ์มีความหมายหลากหลายมิติ ในที่นี้จะนำเสนอนิยามและมุมมองโดยสังเขปของนักวิชาการบางท่านเกี่ยวกับอัตลักษณ์และความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์กับสังคมและการสื่อสาร
อัตลักษณ์ (Identity) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลหรือวัตถุที่ทำให้คนนั้นหรือสิ่งนั้นโดดเด่นหรือแตกต่างจากสิ่งอื่น (Collins Dictionary, 1996) สำหรับอัตลักษณ์ของบุคคล คำนี้อาจหมายรวมถึงมิติ“ภายใน”ของความเป็นตัวเราทั้งในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และแนวคิดเกี่ยวกับตัวเองหรือการรู้จักตัวเอง (Self-concept) รวมทั้ง สำนึกถึง“ความเป็นปัจเจก” ที่บุคคลเชื่อมต่อและสัมพันธ์กับสังคม อัตลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่า “เราคือใคร” และ “เราจะดำเนินความสัมพันธ์กับคนอื่น ตลอดจนโลกภายนอกที่แวดล้อมตัวเราอย่างไร”
ในขณะที่อัตลักษณ์เป็นมุมมองที่เรามีต่อตัวเอง อัตลักษณ์ก็เป็นตัวกำหนดมุมมองและคุณค่าที่มีต่อสิ่งอื่นหรือคนอื่นไปด้วยพร้อม ๆ กัน เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนเราจะสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองขึ้นมาจากโลกทัศน์เรื่อง “ความแตกต่าง” โดยการจำแนกแยกแยะ การเปรียบเทียบ และการประเมินค่า ดังนั้น อัตลักษณ์จึงเป็นตัวกำหนดว่า “ใครคือพวกเรา ใครเหมือนเรา และใคร/อะไรที่แตกต่างจากเรา” จนสุดท้ายก็จะนำไปสู่การมองว่า “ใครไม่เหมือนเรา ใครคือพวกเขา ใครคือคนอื่น”
สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเองและนำไปสู่การมีประสบการณ์เกี่ยวกับคนอื่นที่มีหลากหลายรูปแบบและไม่มีเนื้อหาเดียว แบบเดียวตายตัว ยิ่งในสังคมแบบประชาธิปไตยที่ยอมรับคุณค่าของความเป็นมนุษย์และเคารพในศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ด้วยแล้ว อัตลักษณ์แบบสังคมประชาธิปไตยย่อมมีความซับซ้อนและหลายแง่มุม เราจึงไม่สามารถกำหนด คาดการณ์หรือควบคุมอัตลักษณ์ของผู้คนในสังคมประชาธิปไตยเป็นแบบเดียว ตายตัว และเหมือนกันหมดได้
สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเองและนำไปสู่การมีประสบการณ์เกี่ยวกับคนอื่นที่มีหลากหลายรูปแบบและไม่มีเนื้อหาเดียว แบบเดียวตายตัว ยิ่งในสังคมแบบประชาธิปไตยที่ยอมรับคุณค่าของความเป็นมนุษย์และเคารพในศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ด้วยแล้ว อัตลักษณ์แบบสังคมประชาธิปไตยย่อมมีความซับซ้อนและหลายแง่มุม เราจึงไม่สามารถกำหนด คาดการณ์หรือควบคุมอัตลักษณ์ของผู้คนในสังคมประชาธิปไตยเป็นแบบเดียว ตายตัว และเหมือนกันหมดได้
กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ : เราเป็น “ตัวเรา” ได้อย่างไร ?
มนุษย์รู้จักตัวเองได้เพราะมนุษย์มี “ภาษา” ภาษาเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างตัวตนและวัฒนธรรมของมนุษย์ เรารับรู้สรรพสิ่งในโลกทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้ก็เพราะภาษา เราให้ชื่อแก่มัน เช่น ต้นไม้ ทุ่งหญ้า นก ดิน ฟ้า พ่อ-แม่ สวย อัปลักษณ์ ดี-เลว เป็นต้น แม้แต่มนุษย์ก็ต้องมีชื่อเพื่อให้คนอื่นเรียก ชื่อเป็นวัฒนธรรมที่เรากำหนดขึ้นเพื่อให้รู้ว่า “มีเรา” พร้อม ๆ กับ “มีคนอื่น” ชื่อทำให้เรารู้ว่าเราแตกต่างจากคนอื่นตั้งแต่ในระดับครอบครัว ชุมชนและสังคม ชื่อทำให้เราตระหนักถึงตัวตนที่เฉพาะตัว (“ฉันไม่เหมือนและไม่ใช่คนอื่น”) นั่นคือการสร้างอัตลักษณ์ของบุคคล
นอกจากชื่อแล้ว เรายังมี “นามสกุล” เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราสืบทอดเชื้อสายจากใคร เป็นคนในครอบครัวนี้ (ไม่ใช่ครอบครัวอื่น) วงศ์ตระกูลที่มีนามสกุลเป็นเครื่องบ่งชี้สมาชิกเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่ม
ในแต่ละวัฒนธรรมก็กำหนดรูปแบบการบ่งชี้สมาชิกในวงศ์ตระกูลแตกต่างกันไป เช่น ในยุโรป ธรรมเนียมการใช้ชื่อสกุลเริ่มปรากฏตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 10 พร้อม ๆ กับการเกิดโรงเรียนอันเป็นการจัดระบบการศึกษาแบบใหม่ในยุคนั้น เมื่อมีเด็กนักเรียนจำนวนมากและมีชื่อซ้ำกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวบ่งชี้เด็กนักเรียนแต่ละคน จึงเกิดธรรมเนียมการใช้ชื่อบิดาหรือชื่อหมู่บ้าน หรือสถานที่สำคัญในชุมชนเป็นชื่อสกุลนับแต่นั้นมา และมีอิทธิพลต่อธรรมเนียมการตั้งชื่อของไทยเมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี้เอง สังคมไทยในอดีต เครื่องหมายรู้อัตลักษณ์บุคคลมักจะนิยมใช้ชื่อมารดาเป็นตัวบ่งชี้ หรือในวัฒนธรรมการตั้งชื่อของชาวอาหรับและมลายู ธรรมเนียมการตั้งนามสกุลก็จะใช้ชื่อของบิดา ปู่ หรือทวดเป็นคำเรียกหมายเพื่อบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นเป็นลูกใคร อยู่ในตระกูลใด เป็นต้น
ในทางจิตวิเคราะห์ การสร้างอัตลักษณ์บุคคลนั้นเกิดขึ้นนับตั้งแต่วินาทีที่มนุษย์เริ่มหายใจได้ด้วยตนเองเพราะนั่นหมายถึงทารกคนนั้นเป็นอิสระจากมารดาแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คืออิสระจากการใช้ลมหายใจร่วมกับมารดามาตลอด 9 เดือน ต่อมาในวัยเด็ก เรารับรู้โลกด้วยวิธีคิดแบบเทียบเคียง กล่าวคือ การรับรู้หรือสัมผัสสรรพสิ่งรอบตัวแล้วเรียนรู้ว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ “คือ......” เช่น ผู้หญิงคนนี้คือแม่ของฉัน นมคืออาหาร สัตว์สี่ขาหางยาวขนปุยคือเพื่อนของฉัน แต่เมื่อเราเริ่มโตขึ้น เราเรียนรู้ภาษาและระบบสัญลักษณ์อื่น ๆ มากขึ้น เรารับรู้โลกผ่านการมองเชิงเปรียบเทียบและให้คุณค่า เราเริ่มคิดว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ “เหมือน.....” เช่น ขนมนี้รสชาติอร่อยเหมือนกับขนมอีกอันหนึ่งที่ฉันเคยกิน แม่ของฉันไม่เหมือนแม่ของคนอื่น เป็นต้น การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างเริ่มซับซ้อนและเป็นสัญลักษณ์มากขึ้นเมื่อเราเข้าสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้นและความสัมพันธ์ทางสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น
ในแต่ละวัฒนธรรมก็กำหนดรูปแบบการบ่งชี้สมาชิกในวงศ์ตระกูลแตกต่างกันไป เช่น ในยุโรป ธรรมเนียมการใช้ชื่อสกุลเริ่มปรากฏตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 10 พร้อม ๆ กับการเกิดโรงเรียนอันเป็นการจัดระบบการศึกษาแบบใหม่ในยุคนั้น เมื่อมีเด็กนักเรียนจำนวนมากและมีชื่อซ้ำกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวบ่งชี้เด็กนักเรียนแต่ละคน จึงเกิดธรรมเนียมการใช้ชื่อบิดาหรือชื่อหมู่บ้าน หรือสถานที่สำคัญในชุมชนเป็นชื่อสกุลนับแต่นั้นมา และมีอิทธิพลต่อธรรมเนียมการตั้งชื่อของไทยเมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี้เอง สังคมไทยในอดีต เครื่องหมายรู้อัตลักษณ์บุคคลมักจะนิยมใช้ชื่อมารดาเป็นตัวบ่งชี้ หรือในวัฒนธรรมการตั้งชื่อของชาวอาหรับและมลายู ธรรมเนียมการตั้งนามสกุลก็จะใช้ชื่อของบิดา ปู่ หรือทวดเป็นคำเรียกหมายเพื่อบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นเป็นลูกใคร อยู่ในตระกูลใด เป็นต้น
ในทางจิตวิเคราะห์ การสร้างอัตลักษณ์บุคคลนั้นเกิดขึ้นนับตั้งแต่วินาทีที่มนุษย์เริ่มหายใจได้ด้วยตนเองเพราะนั่นหมายถึงทารกคนนั้นเป็นอิสระจากมารดาแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คืออิสระจากการใช้ลมหายใจร่วมกับมารดามาตลอด 9 เดือน ต่อมาในวัยเด็ก เรารับรู้โลกด้วยวิธีคิดแบบเทียบเคียง กล่าวคือ การรับรู้หรือสัมผัสสรรพสิ่งรอบตัวแล้วเรียนรู้ว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ “คือ......” เช่น ผู้หญิงคนนี้คือแม่ของฉัน นมคืออาหาร สัตว์สี่ขาหางยาวขนปุยคือเพื่อนของฉัน แต่เมื่อเราเริ่มโตขึ้น เราเรียนรู้ภาษาและระบบสัญลักษณ์อื่น ๆ มากขึ้น เรารับรู้โลกผ่านการมองเชิงเปรียบเทียบและให้คุณค่า เราเริ่มคิดว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ “เหมือน.....” เช่น ขนมนี้รสชาติอร่อยเหมือนกับขนมอีกอันหนึ่งที่ฉันเคยกิน แม่ของฉันไม่เหมือนแม่ของคนอื่น เป็นต้น การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างเริ่มซับซ้อนและเป็นสัญลักษณ์มากขึ้นเมื่อเราเข้าสู่สังคมที่ใหญ่ขึ้นและความสัมพันธ์ทางสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ที่ชื่อ Jacques Lacan ลาก็องได้เสนอแบบจำลองการสร้างอัตลักษณ์ที่เรียกว่า The Mirror Stage (การสร้างอัตลักษณ์จากการมองตนเองในกระจก) กล่าวคือ ในวัยทารก เรายังไม่รู้จักว่าตัวเองคือใคร เรายังไม่สามารถแยกตัวเองออกจากแม่ได้ เรายังรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของแม่ แต่เมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเรียนรู้ เมื่อเราเห็นตัวเองในกระจกเงา เราเริ่มเรียนรู้ความเหมือนความต่างและตระหนักแล้วว่าเด็กในกระจก “นั่นไง!! นั่นคือตัวฉันเอง” และเมื่อเราเห็นแม่ในกระจก เราก็ได้เรียนรู้อีกครั้งว่านี่คือ “ผู้หญิงที่เขาเคยเห็นและคุ้นเคย” ซึ่งแตกต่างจากคนที่เขาเพิ่งรู้จักใหม่ซึ่งก็คือ “ตัวของเขาเอง”
ดังนั้น ในกระบวนการนี้ เรารู้จักตัวเองจากการมองว่าคนอื่นนั้นแตกต่างจากเรา เราเริ่มหลุดพ้นออกจากการเป็นหนึ่งเดียวกับแม่ของเราอีกครั้ง ณ จุดนี้ ตัวตนของเราค่อย ๆ เริ่มก่อตัวขึ้น อัตลักษณ์ของเราเริ่มชัดเจนขึ้น เราได้ตระหนักถึงตัวตนของเราใน 2 ลักษณะคือ ตัวตนภายใน (ฉัน) และตัวตนในกระจก (ภาพตัวแทนของฉัน) เราเริ่มตระหนักถึงระยะห่างระหว่างตัวเราทั้งสองแบบนี้ และในที่สุด เราก็หลุดออกจากตัวตนภายในที่แต่เดิมเราเคยคิดว่ามันมีเพียงหนึ่งเดียว
ดังนั้น ในกระบวนการนี้ เรารู้จักตัวเองจากการมองว่าคนอื่นนั้นแตกต่างจากเรา เราเริ่มหลุดพ้นออกจากการเป็นหนึ่งเดียวกับแม่ของเราอีกครั้ง ณ จุดนี้ ตัวตนของเราค่อย ๆ เริ่มก่อตัวขึ้น อัตลักษณ์ของเราเริ่มชัดเจนขึ้น เราได้ตระหนักถึงตัวตนของเราใน 2 ลักษณะคือ ตัวตนภายใน (ฉัน) และตัวตนในกระจก (ภาพตัวแทนของฉัน) เราเริ่มตระหนักถึงระยะห่างระหว่างตัวเราทั้งสองแบบนี้ และในที่สุด เราก็หลุดออกจากตัวตนภายในที่แต่เดิมเราเคยคิดว่ามันมีเพียงหนึ่งเดียว
The Mirror Stage (Jacques Lacan)
กลไกอุดมการณ์กับการสร้างอัตลักษณ์
นอกจากการเรียนรู้โลกภายนอกด้วยการเห็นความเหมือนและความต่างอันนำไปสู่กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลแล้ว อุดมการณ์ก็เป็นกลไกหนึ่งที่ประดิษฐ์สร้างอัตลักษณ์ทางสังคมให้กับบุคคลด้วย “อุดมการณ์” (Ideology)
ตามแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และฟรีดิช เองเกลส์ (Friedrich Engels) นักปรัชญาเยอรมัน ในหนังสือ The German Ideology (อุดมการณ์เยอรมัน) ระหว่างปี 1845-1846 เสนอว่า อุดมการณ์เกิดจากการแลกเปลี่ยนทางสังคมอันมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบหลักของการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในยุคนั้น ๆ เช่น จากสังคมระบบชนเผ่า มาสู่ชุมชน ระบบฟิวดัล มาจนถึงระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มีรูปแบบการแลกเปลี่ยนทางสังคมที่แตกต่างกัน และทำให้รูปแบบกรรมสิทธิ์แตกต่างกันไปด้วย อุดมการณ์เข้ามาทำหน้าที่ให้ความชอบธรรมแก่การปกครองของชนชั้นปกครองของแต่ละยุคเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และอำนาจ
มาร์กซ์และเองเกลส์ชี้ว่า ภายใต้ระบบฟิวดัล เราได้ยินคำอย่างเช่น “เกียรติ” และ “ความจงรักภักดี” อยู่บ่อย ๆ แต่เมื่อถึงยุคทุนนิยม คำเช่น “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” ก็เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจกลายเป็นค่านิยมร่วมของทุกกลุ่มในสังคม ชนชั้นปกครองจำเป็นต้องอธิบายโลกทัศน์ของตนในฐานะที่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้คนอื่นเชื่อว่าอุดมการณ์เหล่านี้เป็นทางเลือกสำคัญประการเดียวที่มีอยู่และเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลและถูกต้อง (แคทเธอลีน เบลซีย์, อภิญญา เฟื่องฟูสกุล-แปล, 2549 : 46-48)
ตามแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และฟรีดิช เองเกลส์ (Friedrich Engels) นักปรัชญาเยอรมัน ในหนังสือ The German Ideology (อุดมการณ์เยอรมัน) ระหว่างปี 1845-1846 เสนอว่า อุดมการณ์เกิดจากการแลกเปลี่ยนทางสังคมอันมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบหลักของการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในยุคนั้น ๆ เช่น จากสังคมระบบชนเผ่า มาสู่ชุมชน ระบบฟิวดัล มาจนถึงระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มีรูปแบบการแลกเปลี่ยนทางสังคมที่แตกต่างกัน และทำให้รูปแบบกรรมสิทธิ์แตกต่างกันไปด้วย อุดมการณ์เข้ามาทำหน้าที่ให้ความชอบธรรมแก่การปกครองของชนชั้นปกครองของแต่ละยุคเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และอำนาจ
มาร์กซ์และเองเกลส์ชี้ว่า ภายใต้ระบบฟิวดัล เราได้ยินคำอย่างเช่น “เกียรติ” และ “ความจงรักภักดี” อยู่บ่อย ๆ แต่เมื่อถึงยุคทุนนิยม คำเช่น “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” ก็เข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจกลายเป็นค่านิยมร่วมของทุกกลุ่มในสังคม ชนชั้นปกครองจำเป็นต้องอธิบายโลกทัศน์ของตนในฐานะที่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้คนอื่นเชื่อว่าอุดมการณ์เหล่านี้เป็นทางเลือกสำคัญประการเดียวที่มีอยู่และเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลและถูกต้อง (แคทเธอลีน เบลซีย์, อภิญญา เฟื่องฟูสกุล-แปล, 2549 : 46-48)
จากแนวคิดดังกล่าว หลุยส์ อัลตูแซร์ (Louis Althusser) ศาสตราจารย์ทางปรัชญาและนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสได้ขยายความโดยสนใจไปที่ “กลไกอุดมการณ์” อัลตูแซร์อธิบายว่า “อุดมการณ์คือระบบของภาพตัวแทนที่ทำหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ที่แท้จริงของเรากับของคนอื่นๆในสังคม ด้วยการประดิษฐ์สร้างความสัมพันธ์เชิงจินตนาการระหว่างผู้คนด้วยกันเองและระหว่างผู้คนกับสังคม ดังนั้น อุดมการณ์จึงเป็นการรับรู้ที่บิดเบือนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่แท้จริงทางสังคม” สำหรับอัลตูแซร์แล้ว เขามองว่าปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งมวลนั้นถูกควบคุมโดยอุดมการณ์ผ่านกลไกการกดทับหรือควบคุม (the repressive state apparatus) เช่น ตำรวจ และกลไกเชิงอุดมการณ์ (the ideological state apparatus) เช่น สื่อสารมวลชน (Jørgensen and Philips, 2002 :15)
กลไกเชิงอุดมการณ์นี้อัลตูแซร์ยังอธิบายอีกว่า เมื่อเราเข้าสู่ระบบความสัมพันธ์ในโครงสร้างทางสังคม เราจะถูก “เรียกร้อง” (appellation) ให้เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ (ที่เรียกว่าอัตตบุคคล-subject) ตามโครงสร้างนั้นผ่านภาษา เช่น การบอกว่าเราเป็นคนไทย/คนจีน เป็นนายู/ซีแย เป็นเสื้อเหลือง-เสื้อแดง-สลิ่ม ฯลฯ หน้าที่ของอุดมการณ์ในระดับบุคคลคือการเรียกหรือติดฉลากให้บุคคล “กลายเป็น” เช่นนั้นเช่นนี้ โดยขึ้นต่อสถาบันทางสังคมที่อยู่เหนือเราขึ้นไป (ในที่นี้หมายถึงสถาบันทางสังคมที่กำหนดแบบแผนความคิดของเราหรือที่ครอบงำเราอยู่) เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันชาติ สถาบันสื่อมวลชน วงการวรรณกรรม วงการศิลปะ ฯลฯ
ในสังคมจะมีการผลิตและผลิตซ้ำความหมายบางอย่างที่โน้มน้าวเราให้คิดว่าเราควรจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงรอบตัวเราอย่างไร และเมื่อเราถูกเรียกหรือติดฉลากให้เป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็จะต้องคิดและแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับฉลากนั้น ตัวอย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” เป็นความหมายที่แฝงไว้ด้วยอุดมการณ์แบบทุนนิยม ทุกคนมีหน้าที่ต้องทำงาน และผลงานที่ดีนำมาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง เงินทองก็นำมาซึ่งความสุข
ในสังคมจะมีการผลิตและผลิตซ้ำความหมายบางอย่างที่โน้มน้าวเราให้คิดว่าเราควรจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงรอบตัวเราอย่างไร และเมื่อเราถูกเรียกหรือติดฉลากให้เป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็จะต้องคิดและแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับฉลากนั้น ตัวอย่างเช่น คำกล่าวที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” เป็นความหมายที่แฝงไว้ด้วยอุดมการณ์แบบทุนนิยม ทุกคนมีหน้าที่ต้องทำงาน และผลงานที่ดีนำมาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง เงินทองก็นำมาซึ่งความสุข
อีกตัวอย่างหนึ่งคือข้อมูลข่าวสารสาธารณะเกี่ยวกับสุขภาพในยุคสมัยใหม่ที่เรียกร้องให้ผู้รับสารเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การดูแลความสะอาด การไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ การคุมกำเนิด รวมไปถึงค่านิยมการบริโภคอาหารสุขภาพ การฟิตซ้อมร่างกายให้แข็งแรงและมีรูปร่างดี เป็นต้น ข่าวสารสุขภาพเหล่านี้สะท้อนถึงอุดมการณ์ในการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคของปัจเจกบุคคล ทำให้ปัจเจกบุคคลต้องแสดงความรับผิดชอบส่วนตัวในการรักษาสุขภาพแทนที่จะมองว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมของสังคมในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น การมองว่าปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือปัญหาอาชญากรรมมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราของปัจเจกบุคคลมากกว่าจะมองว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างหรือปัญหาทางเศรษฐกิจสังคม
เมื่อเราวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการนำเสนอสารในโฆษณารณรงค์การไม่ดื่มสุราหลายครั้งในสื่อมวลชน เราก็มักพบว่ามีการแสดงภาพตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานยากจนหรือกลุ่มวัยรุ่นเกเรที่ดื่มสุราจนเมามายจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหรือก่ออาชญากรรมและรวมไปถึงความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาอุบัติเหตุหรืออาชญากรรมถูกทำให้มองว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและเป็นปัญหาของคนบางกลุ่ม บางชนชั้น โดยที่อาจทำให้สาธารณชนละเลยที่จะมองถึงปัญหาที่กว้างและซับซ้อนกว่านั้น เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการด้อยโอกาสในสังคม ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาความเครียดในการใช้ชีวิตที่ต้องดิ้นรน เป็นต้น
เมื่อเราวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการนำเสนอสารในโฆษณารณรงค์การไม่ดื่มสุราหลายครั้งในสื่อมวลชน เราก็มักพบว่ามีการแสดงภาพตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานยากจนหรือกลุ่มวัยรุ่นเกเรที่ดื่มสุราจนเมามายจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุหรือก่ออาชญากรรมและรวมไปถึงความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาอุบัติเหตุหรืออาชญากรรมถูกทำให้มองว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและเป็นปัญหาของคนบางกลุ่ม บางชนชั้น โดยที่อาจทำให้สาธารณชนละเลยที่จะมองถึงปัญหาที่กว้างและซับซ้อนกว่านั้น เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการด้อยโอกาสในสังคม ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาความเครียดในการใช้ชีวิตที่ต้องดิ้นรน เป็นต้น
ดังนั้น อุดมการณ์ในความหมายของอัลตูแซร์ คือ ภาพตัวแทนของความสัมพันธ์ในเชิงจินตภาพของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ จินตนาการทำให้เราเชื่อว่ามัน “จริง” (real) ทำให้เราเชื่อว่า “มันต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว มันเป็นสัจธรรม มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสากล” (ทั้ง ๆ ที่มันเป็นสิ่งที่สังคมประดิษฐ์สร้างขึ้นมา)
อย่างไรก็ตาม การทำงานของกระบวนการเรียกร้อง (appellation) ของอัลตูแซร์ ไม่ได้อยู่ในระดับผิวเผิน แต่ถูกปลูกฝังอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious) เลยทีเดียว เช่น การปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยม การปลูกฟังวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม หรือการปลูกฝังความกลัวบางอย่าง เช่น กลัวคอมมิวนิสต์ กลัวเสียเอกราช เป็นต้น
เนื่องจากจิตไร้สำนึกเป็นระบบสัญญะที่ไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระของปัจเจกบุคคลแต่มีลักษณะร่วมกันทางสังคม จิตไร้สำนึกถูกนำมาใช้ในการศึกษาวัฒนธรรมเชิงจิตวิเคราะห์ เช่น การพูดพลั้งปาก การตีความความฝัน ช่วยให้เราเข้าใจความหมาย ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลหรือแม้แต่สังคมที่ฝังอยู่เบื้องลึก ช่วยให้เราเข้าใจถึงอุดมการณ์ที่คอยกำกับความคิด การกระทำและการแสดงออกของอัตลักษณ์ของเรา
อย่างไรก็ตาม การทำงานของกระบวนการเรียกร้อง (appellation) ของอัลตูแซร์ ไม่ได้อยู่ในระดับผิวเผิน แต่ถูกปลูกฝังอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious) เลยทีเดียว เช่น การปลูกฝังอุดมการณ์ชาตินิยม การปลูกฟังวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม หรือการปลูกฝังความกลัวบางอย่าง เช่น กลัวคอมมิวนิสต์ กลัวเสียเอกราช เป็นต้น
เนื่องจากจิตไร้สำนึกเป็นระบบสัญญะที่ไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระของปัจเจกบุคคลแต่มีลักษณะร่วมกันทางสังคม จิตไร้สำนึกถูกนำมาใช้ในการศึกษาวัฒนธรรมเชิงจิตวิเคราะห์ เช่น การพูดพลั้งปาก การตีความความฝัน ช่วยให้เราเข้าใจความหมาย ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลหรือแม้แต่สังคมที่ฝังอยู่เบื้องลึก ช่วยให้เราเข้าใจถึงอุดมการณ์ที่คอยกำกับความคิด การกระทำและการแสดงออกของอัตลักษณ์ของเรา
คำถามที่ท้าทายให้เราได้คิดคือ หากพิจารณาแนวคิดของอัลตูแซร์ สถาบันสื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างไรในการสร้างอัตลักษณ์ของเราและสังคมของเรา? สื่อมวลชนเรียกร้องให้ผู้คนสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มขึ้นมาได้อย่างไร? ในทางกลับกัน บุคคลได้ใช้สื่อมวลชนสร้างอัตลักษณ์ของตนเองขึ้นมาอย่างไร? สื่อเลือกนำเสนออัตลักษณ์หรือภาพตัวแทนของแต่ละกลุ่มคนในสังคมอย่างไร?
แนวคิดของอัลตูแซร์ถูกนำมาใช้ในการศึกษาบทบาทของสื่อมวลชนในกระบวนการสร้างความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์ของบุคคล เพราะในขณะที่เราบริโภคสารจากสื่อมวลชน เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับเนื้อหา (อุดมการณ์) ในสื่อ และมีปฏิสัมพันธ์ภายในตัวเราด้วย เช่นกรณีเกิดคำถามในใจเมื่อรับสารจากสื่อมวลชนว่า ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไร กระบวนการนี้เป็นการสร้างอัตลักษณ์หรือตอกย้ำอัตลักษณ์เดิมของเรานั่นเอง
อัตลักษณ์ : การแสดงออกอำนาจเชิงสัญลักษณ์
ในขณะที่มาร์กซ์และอัลตูแซร์มุ่งเน้นวิพากษ์โครงสร้างทางสังคม ปิแยร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) กลับมองว่าการพยายามอธิบายสังคมโดยมุ่งหาแต่โครงสร้างสากล ลดทอนการกระทำให้เป็นเพียงผลของตัวแบบทางทฤษฎี และมองว่าผู้กระทำในสังคมเป็นเพียงหุ่นเชิดที่มีโครงสร้างเป็นเชือกชักนั้นไม่สามารถอธิบายเหตุผลอันแท้จริงของการกระทำทางสังคมรวมทั้งอัตลักษณ์ด้วยได้ แต่ยังมีวิธีการอธิบายในแบบอื่นที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกันนั่นก็คือ “ระบบความสัมพันธ์และอำนาจเชิงสัญลักษณ์ที่มีส่วนในการกำหนดการกระทำหรือปรากฏการณ์ทางสังคม”
บูร์ดิเยอได้เสนอแนวคิดเรื่องโครงสร้างในแบบที่ต่างออกไป ตรงที่ “โครงสร้างนั้นเป็นทั้งผู้กำหนดและผู้ถูกกำหนด” กล่าวคือ ในสังคมมีโครงสร้างที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของปัจเจกบุคคล (habitus หรือที่ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุขใช้คำว่า “นิจภาพ”) ซึ่งเป็นผลิตผลของกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของชีวิต ด้วยการปลูกฝังเรื่องต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขทางสังคม กฎระเบียบ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ฯลฯ ให้ซึมซับไปในร่างกายและจิตใจของบุคคล โครงสร้างดังกล่าวกำหนดขอบเขตของการกระทำและสร้างชุดการรับรู้และประเมินคุณค่าที่สอดคล้องกับโครงสร้างนั้น แล้วแสดงออกในรูปของการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่สม่ำเสมอ (ที่เรียกว่าการผลิตซ้ำ - reproduction) โครงสร้างจึงถูกประกอบสร้าง (constructed) ด้วยการปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดมาก่อนด้วยนิจภาพ (habitus) และถูกกำหนดด้วยโครงสร้างที่อยู่ภายนอกอีกทีหนึ่ง (ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, 2550 :74, 85-95)
บูร์ดิเยอได้เสนอแนวคิดเรื่องโครงสร้างในแบบที่ต่างออกไป ตรงที่ “โครงสร้างนั้นเป็นทั้งผู้กำหนดและผู้ถูกกำหนด” กล่าวคือ ในสังคมมีโครงสร้างที่กำหนดความรู้สึกนึกคิดและการกระทำของปัจเจกบุคคล (habitus หรือที่ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุขใช้คำว่า “นิจภาพ”) ซึ่งเป็นผลิตผลของกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของชีวิต ด้วยการปลูกฝังเรื่องต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขทางสังคม กฎระเบียบ ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ฯลฯ ให้ซึมซับไปในร่างกายและจิตใจของบุคคล โครงสร้างดังกล่าวกำหนดขอบเขตของการกระทำและสร้างชุดการรับรู้และประเมินคุณค่าที่สอดคล้องกับโครงสร้างนั้น แล้วแสดงออกในรูปของการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่สม่ำเสมอ (ที่เรียกว่าการผลิตซ้ำ - reproduction) โครงสร้างจึงถูกประกอบสร้าง (constructed) ด้วยการปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดมาก่อนด้วยนิจภาพ (habitus) และถูกกำหนดด้วยโครงสร้างที่อยู่ภายนอกอีกทีหนึ่ง (ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, 2550 :74, 85-95)
“โครงสร้างที่เป็นทั้งผู้กำหนดและผู้ถูกกำหนด” นี้เป็นที่มาของการครอบครอง “ทุน” (capital) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทุนทางสัญลักษณ์” และแน่นอนว่าผู้ที่ครอบครองทุนทางสัญลักษณ์ก็ย่อมเป็นผู้ที่มี “อำนาจเชิงสัญลักษณ์” (symbolic power)[1] ด้วย
แนวคิดเรื่องอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของบูร์ดิเยอนำมาใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคม ความสัมพันธ์นี้มีส่วนในการกำหนดอัตลักษณ์ของบุคคลและสังคมในมิติที่แตกต่างออกไป
ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า บูร์ดิเยอสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเชิงสัญลักษณ์กับการผลิตทางวัฒนธรรม รวมทั้งการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของผู้กระทำ (agent) ในสนามทางสังคม (Field) ในแง่นี้ เขาได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคในสังคมยุคปัจจุบันที่ผูกโยงกับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม (Bourdieu, 1984) กล่าวคือ เรากิน เราเที่ยว เราสนุกในแบบที่สังคมกำหนดไว้แล้ว โครงสร้างทางสังคมอันได้แก่โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (ฐานะร่ำรวย-ยากจน) และโครงสร้างทางสังคม (สถานภาพทางสังคม เช่น เป็นชนชั้นสูง แพทย์ นักธุรกิจ นักวิชาการ วิศวกร กรรมกร เกษตรกร ฯลฯ) ได้กำหนดวิถีการบริโภคให้กับเรา และนั่นนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิต ตัวตน และอัตลักษณ์ของบุคคลที่แตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างนั้น
กล่าวอีกแง่หนึ่ง หากเราต้องการให้คนอื่นมองเห็นว่าเราเป็นคนในชนชั้นไหน ฐานะเป็นอย่างไร อยู่ในโครงสร้างส่วนไหนของสังคม เราก็ต้องพยายามแสดงออกให้คนอื่นเห็นด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้น ๆ เช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนม การใช้อุปกรณ์การสื่อสารรุ่นใหม่ล่าสุด การอ่านหนังสือแฟชั่นหรือหนังสือวิชาการ การฟังเพลงคลาสสิคหรือเพลงลูกทุ่ง ฯลฯ การแสดงออกของบุคคลจึงถูกประกอบสร้างตามฐานะทางสังคม ชนชั้น ต้นทุนทางวัฒนธรรมหรือต้นทุนทางสัญลักษณ์ที่คนคนนั้นครอบครองอยู่
ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า บูร์ดิเยอสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเชิงสัญลักษณ์กับการผลิตทางวัฒนธรรม รวมทั้งการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของผู้กระทำ (agent) ในสนามทางสังคม (Field) ในแง่นี้ เขาได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคในสังคมยุคปัจจุบันที่ผูกโยงกับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม (Bourdieu, 1984) กล่าวคือ เรากิน เราเที่ยว เราสนุกในแบบที่สังคมกำหนดไว้แล้ว โครงสร้างทางสังคมอันได้แก่โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (ฐานะร่ำรวย-ยากจน) และโครงสร้างทางสังคม (สถานภาพทางสังคม เช่น เป็นชนชั้นสูง แพทย์ นักธุรกิจ นักวิชาการ วิศวกร กรรมกร เกษตรกร ฯลฯ) ได้กำหนดวิถีการบริโภคให้กับเรา และนั่นนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการใช้ชีวิต ตัวตน และอัตลักษณ์ของบุคคลที่แตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างนั้น
กล่าวอีกแง่หนึ่ง หากเราต้องการให้คนอื่นมองเห็นว่าเราเป็นคนในชนชั้นไหน ฐานะเป็นอย่างไร อยู่ในโครงสร้างส่วนไหนของสังคม เราก็ต้องพยายามแสดงออกให้คนอื่นเห็นด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้น ๆ เช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนม การใช้อุปกรณ์การสื่อสารรุ่นใหม่ล่าสุด การอ่านหนังสือแฟชั่นหรือหนังสือวิชาการ การฟังเพลงคลาสสิคหรือเพลงลูกทุ่ง ฯลฯ การแสดงออกของบุคคลจึงถูกประกอบสร้างตามฐานะทางสังคม ชนชั้น ต้นทุนทางวัฒนธรรมหรือต้นทุนทางสัญลักษณ์ที่คนคนนั้นครอบครองอยู่
จากแนวคิดของบูร์ดิเยอ เขาได้จำแนกบุคคลตามการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นรสนิยมการบริโภค การแสดงออกในชีวิตประจำวัน ความคิด ค่านิยม ที่เรียกว่า “Habitus” หรือนิจภาพซึ่ง จำแนกคนตามต้นทุนหลัก 2 ประเภทคือ ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางวัฒนธรรม กล่าวคือ คนเราย่อมมีทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความร่ำรวย-ยากจน และทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาความรู้ บารมี ความน่าเชื่อถือ รสนิยมทางศิลปะ (ชั้นสูง-ชั้นล่าง) มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป บูร์ดิเยอวิเคราะห์ว่า ในโครงสร้างทางสังคมนั้น ต้นทุนทางวัฒนธรรมกระจายตัวออกไปสู่ชนชั้นต่างๆอย่างไม่เท่ากัน ชนชั้นที่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็มีโอกาสที่จะสะสมทุนทางวัฒนธรรมได้มากกว่า เช่น คนรวยมีโอกาสได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย มีการศึกษาสูงมากกว่าคนยากจน (อาจเพราะมีเงินเรียนกวดวิชาหรือไม่ต้องแบ่งเวลาไปทำงานเลี้ยงปากท้อง) คนรวยสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมชั้นสูงหรือวิจิตรบรรจงได้ง่ายกว่า ในสังคมสมัยใหม่เราจะเห็นสภาพการต่อสู้ระหว่างคนที่ครอบครองทุนทั้งสองประเภทนี้อยู่ตลอดเวลา การต่อสู้ระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นสูงมีทั้งในรูปของการต่อสู้ด้านเศรษฐกิจและการต่อสู้ด้านวัฒนธรรม
หากเราวิเคราะห์การแสดงบทบาทของบุคคลในชีวิตประจำวันหรือการวิเคราะห์สารในสื่อมวลชน เราก็จะพบว่ามีการต่อสู้เชิงอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลและกลุ่มคนตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การปรากฏตัวของกลุ่มเพศที่สามในสื่อมวลชนที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งในละคร ภาพยนตร์ รายการเกมโชว์หรือโฆษณา แสดงให้เห็นถึงพยายามแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของเพศที่สามในพื้นที่สาธารณะ เป็นการปรากฏตัวในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมและมีบทบาทสำคัญ
แต่บางครั้งเราก็พบว่าอัตลักษณ์ของบุคคลก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ทั้งนี้เนื่องจากวิถีการบริโภคของบุคคลที่อิงอยู่กับทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางเศรษฐกิจมีการปรับตัว ตัวอย่างเช่น กรณีค่ายเพลงไทยสากลหลายค่ายหันมาทำเพลงลูกทุ่งหมอลำกันมากขึ้น แต่ปรับโฉมให้ทันสมัยเป็นสากล ก็เป็นการเคลื่อนจากทุนทางวัฒนธรรมหนึ่งไปหาทุนทางเศรษฐกิจมากขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตเล็งเห็นแล้วว่าตลาดของคนฟังเพลงลูกทุ่งนั้นใหญ่กว่า และในที่สุดแนวเพลงลูกทุ่งหมอลำที่ดูทันสมัยก็จะกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมอีกแบบหนึ่งที่ประสานกันได้กับทุนทางเศรษฐกิจ และอาจทำให้หลาย ๆ คนไม่ตะขิดตะขวงใจหากจะหาเพลงลูกทุ่งหมอลำแนวสากลมาฟัง ดังนั้น รสนิยมและอัตลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยโครงสร้างและเป็นผู้กำหนดโครงสร้างได้เช่นกัน
บทส่งท้าย
แนวคิดของนักปรัชญา นักจิตวิเคราะห์และนักสังคมศาสตร์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์ ช่วยทำให้เราเห็นถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ของบุคคลและอัตลักษณ์ของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสังคมมีลักษณะเป็นพหุวัฒนธรรมด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เห็นได้ว่าอัตลักษณ์นั้นมีลักษณะที่พลวัตและปรับตัวตลอดเวลาตามสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางสังคม คนคนหนึ่งอาจแสดงออกอัตลักษณ์ของตนแบบหนึ่งเฉพาะในสถานการณ์หนึ่ง แต่เมื่อเปลี่ยนที่ เปลี่ยนเวลาและเปลี่ยนคู่สื่อสารก็อาจแสดงออกอัตลักษณ์อีกแบบหนึ่งได้ ดังนั้น“อัตลักษณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ และไม่มีแบบฉบับตายตัว”
คำถามที่ตามมาคือ หากอัตลักษณ์ของบุคคลหรือกลุ่มมีลักษณะเป็นพลวัต แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดพลวัตนั้น ? คำตอบนั้นมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม โครงสร้างทางชนชั้นทางสังคมและอุดมการณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมต้องอาศัย“การสื่อสาร”ผ่านภาษา ระบบสัญลักษณ์ ช่องทางการสื่อสารเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมให้เป็นไปตามโครงสร้างเหล่านั้น
อัตลักษณ์ในพื้นที่การสื่อสารและพื้นที่สาธารณะนั้นมีความซับซ้อนเนื่องจากมันเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเอง (subject) กับ “คนอื่น” และความผูกพันต่อตัวเองกับโครงสร้างเชิงสถาบันที่ทำให้ปัจเจกบุคคลเข้ามาเชื่อมต่อและผูกพัน(engagement)กับสังคม ตัวอย่างเช่นความรู้สึกถึงความเป็นพลเมือง เป็นต้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารในฐานะที่เป็น “กระจกสะท้อนทางสังคม” (social mirror) (Lamizet, 2002: 43-46)
กล่าวโดยสรุปก็คือ อัตลักษณ์เป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสังคม เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนซึ่งกันและกันระหว่างความเป็นการเมืองกับความเป็นจริงที่ปัจเจกสรุปได้จากการผูกพันตัวเองกับสังคม นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลจึงมีทั้ง “มิติอัตลักษณ์เดี่ยว”และ “มิติอัตลักษณ์ร่วม”ที่เกี่ยวพัน เชื่อมโยงและปะทะกันในสังคมตลอดเวลา ยิ่งสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยแล้ว ระดับของการปะทะสังสันท์ระหว่างอัตลักษณ์ทั้งสองมิตินี้จะยิ่งเข้มข้นขึ้น หรือบ่อยครั้งก็อาจนำไปสู่ความอ่อนไหวของความขัดแย้ง
กล่าวโดยสรุปก็คือ อัตลักษณ์เป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสังคม เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนซึ่งกันและกันระหว่างความเป็นการเมืองกับความเป็นจริงที่ปัจเจกสรุปได้จากการผูกพันตัวเองกับสังคม นี่คือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลจึงมีทั้ง “มิติอัตลักษณ์เดี่ยว”และ “มิติอัตลักษณ์ร่วม”ที่เกี่ยวพัน เชื่อมโยงและปะทะกันในสังคมตลอดเวลา ยิ่งสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยแล้ว ระดับของการปะทะสังสันท์ระหว่างอัตลักษณ์ทั้งสองมิตินี้จะยิ่งเข้มข้นขึ้น หรือบ่อยครั้งก็อาจนำไปสู่ความอ่อนไหวของความขัดแย้ง
เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์ทั้งในลักษณะความขัดแย้งภายในตัวของปัจเจกบุคคลเองและความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมแบบพหุวัฒนธรรมนั้นจะต้องมีพื้นที่ร่วม (collective space) ที่ยอมรับในความแตกต่างของอัตลักษณ์ของบุคคลในสังคม และต้องเป็นพื้นที่กลางที่เปิดโอกาสให้อัตลักษณ์ที่แตกต่างนั้นสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันซึ่งกันและกันได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งก็หมายถึงพื้นที่ของการสื่อสารนั่นเอง.
รายการอ้างอิง
- แคทเธอลีน เบลซีย์. 2549. หลังโครงสร้างนิยม ฉบับย่อ. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, แปล. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
- ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. 2550. เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, แปล. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
- Bourdieu, Pierre. 1984. Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste. Haward University Press.
- Chauviré, Christine et Fontaine Olivier. 2003. Le vocabulaire de Bourdieu. Paris : Ellipses.
- Jørgensen, Marianne and Philips, Louise. 2002. Discourse Analysis as Theory and Method. London: SAGE Publications.
- Lamizet, Bernad. 2002. Politique et identité. Lyon : Presses Universitaires de Lyon.
[1] อำนาจเชิงสัญลักษณ์ เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่แสดงออกมาในเชิงสัญลักษณ์เช่น สถานภาพ ถ้อยคำภาษา อากัปกิริยาท่าทาง การกระทำ การรับรู้กันในใจ ที่สืบเนื่องมาจากทุนทางสัญลักษณ์ (symbolic capital) เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ พละกำลัง บุญบารมี วีรกรรม ฯลฯ เราจะรับรู้ถึงทุนทางสัญลักษณ์ได้นั้น ต้องอาศัยการตีความในหมู่สมาชิกของสังคมที่มีระบบคุณค่าหรือวัฒนธรรมเดียวกัน ต้องอาศัยการยินยอมพร้อมใจและให้ความชอบธรรม (legitimacy) แก่สิ่งนั้น ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข (2550 : 82-83) อธิบายว่า ในแนวคิดของบูร์ดิเยอ สิ่งที่ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มมี “บารมี” ได้เป็นผลจากการมีทุนทางสัญลักษณ์ ซึ่งมิได้เกิดขึ้นเอง แต่ต้องอาศัยการแฝงฝังระบบโน้มเอียงต่าง ๆ ที่สอดคล้องลงไปในตัวผู้กระทำ (บุคคล) โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่วัยเยาว์ (...) ทุนทางสัญลักษณ์เป็นที่มาของการครอบงำเช่นเดียวกับทุนทางเศรษฐกิจ เป็นการเอารัดเอาเปรียบแบบที่ฝ่ายที่อยู่ภายใต้การครอบงำไม่ได้ตระหนักว่าถูกครอบงำ
สวัสดีค่ะ หนูขออนุญาตินำบทความนี้ไปอ้างอิงการเขียนสัมมนาในส่วนทบทวนวรรณกรรม (การสร้างอัตลักษณ์)นะคะ หนูกำลังเขียนสัมมนาเรื่องอัตลักษณ์ของแฟนคลับเกาหลีค่ะ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ด้วยความยินดีค่ะ หากดิฉันจะได้ทราบรายละเอียดสักเล็กน้อย เกี่ยวกับ ชื่อ คณะวิชาของคุณด้วย จะขอบคุณมากค่ะ กรุณาส่งข้อความมาทาง e-mail: kusuma6932@gmail.com นะคะ
ตอบลบเรียนศาสนากับการพัฒนาที่มหิดลครับ ทำวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิถึคริสต์ ขอนำข้อมูลเขียนและอ้างถึงในงานวิจัยครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบสวัสดีค่ะ หนูขออนุญาตินำบทความนี้ไปประกอบการเขียนสารนิพนธ์ เรื่องการสร้างอัตลักษณ์อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีค่ะ จากภาควิชาbroadcasting คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพค่ะ
ตอบลบด้วยความยินดีค่ะ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ขออนุญาตนำไปอ้างอิงในการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์นะครับ
ตอบลบสวัสดีครับผมขออนุญาตไปอ้างอิงในงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์นะครับจากมหาวิทยาลัยพะเยาครับ🙏🏽
ตอบลบสวัสดีครับผมขออณุญาตนำไปอ้างองในการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างอันลักษณ์นะครับ
ตอบลบสวัสดีครับผมขออณุญาตนำไปอ้างองในการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างอันลักษณ์นะครับ
ตอบลบ